ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์นำเสนอนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการบูรณาการแบบองค์รวม
ของโรงเรียนบ้านทุ่งรูง ตำบลผักไหม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยเครือข่ายความร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำโดย รศ.สมัย ยอดอินทร์และคณะ
รุ่นที่ 1 (เริ่มภาคเรียนที่ 2/2552)
โรงเรียนในสังกัด สพป.สุรินทร์ เขต 1 โรงเรียนบ้านทุ่งรูง , โรงเรียนบ้านตรึม(ตรึมวิทยานุเคราะห์)
โรงเรียนในสังกัด สพม.33 โรงเรียนห้วยจริงวิทยา
รุ่นที่ 2 (เริ่มภาคเรียนที่ 2/2553)
โรงเรียนบ้านระไซร์ โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์
รุ่นที่ 3 (เริ่มภาคเรียนที่ 1/2554)
โรงเรียนสังกัด สพป.สุรินทร์ เขต 1 โรงเรียนบ้านกระโดนค้อ โรงเรียนบ้านกระดาน โรงเรียนบ้านช่างปี่
โรงเรียนในสังกัด สพป.สุรินทร์ เขต 3 โรงเรียนบ้านฉลีก โรงเรียนบ้านปลัด โรงเรียนวันเจริญสามััคคี
เพื่อพัฒนาด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับท้องถิ่น (หลักสูตรท้องถิ่น)
และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปฏิทินการติดตามงานจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมเดือนมีนาคม 2555

ประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนในโครงการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมจังหวัดสุรินทร์


รศ.สมัย ยอดอินทร์ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้กำหนดการนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบองค์รวม ในระหว่างวันที่ 2-10 มีนาคม 2555 รายละเอียดดังนี้

3-4 มี.ค.2555 อาจารย์เก็บข้อมูลภาคสนามเชิงประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับบูรณาการแบบองค์รวม
5 มี.ค.2555  เช้า นิเทศงาน ที่ร.ร.บ้านปลัด      บ่ายที่ ร.ร.วันเจริญสามัคคี 
                    เย็น ประชุมผู้บริหารทุก ร.ร.ที่ศูนย์ Net
6 มี.ค.2555  เช้า นิเทศงาน ที่ ร.ร.บ้านระไซร์ 
                    บ่าย  ร.ร.บ้านทุ่งรูง เข้าพบที่ ศูนย์ Net
7 มี.ค.2555  เช้า พบ ร.ร.บ้านฉลีก ร.ร.วันเจริญสามมัคี และโรงเรียนในโครงการ สสค.มัธยมศึกษา
                    บ่าย 13.00 น.  ประชุมคณะครูทุกโรงเรียน ที่ ศูนย์ NET
                                    - การจัดทำร่าง STRAND MAP สำหรับ ร.ร.ใหม่ และปรับปรุงพัฒนาสำหรับ ร.รเก่า
                                    - สาธิตการวัดผลและประเมินคลิกวิชาการ Clinical Test กับ นร.ประถมและมัธยมฯ
                                    - การเตรียมนิทรรศการ สรุปงานในปลายเดือนมีนาคม 2555 (เพื่อให้สอดคล้องตามแผนงานที่เสนอขอทุนจาก สสค. และตามกรอบจุดเน้นการปฏิรูประยะที่ 5)
                                    - การเตรียมโครงการขอทุน สสค.ระดับประถมศึกษา ปี 2555
8 มี.ค.2555  เช้า พบคณะบริหาร ร.ร.ทศพรวิทยา อ.สตึก บุรีรัมย์
                    บ่าย ร.ร.ที่มีข้อซักถาม เข้าพบที่ศูนยNet
9 มี.ค.2555 เช้า 11.00 น. พบผู้บริหารที่สนใจร้านกาแฟ ปตท.ศีขรภูมิ
                    บ่าย 13.30 น. นิเทศที่ ร.ร.ห้วยจริงวิทยา
10 มี.ค. 2555 อาจารย์เดินทางกลับเชียงใหม่

ขอความร่วมมือโรงเรียนได้เตรียมข้อมูลสภาพการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อสงสัย เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนางาน  ขอให้โรงเรียนวางแผนการเข้าพบท่านอาจารย์เอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำงาน ในรอบนี้ปฏิทินนิเทศกำหนดโดยผู้บริหารโรงเรียนและคณะครู ดังนั้นจะพบว่าท่านอาจารย์ไม่ได้เข้านิเทศทุกโรงเรียน

หมายเหตุ : ตารางอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม กรุณาตรวจสอบทุกวัน

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ปฏิทินการนิเทศติดตามโรงเรียนในโครงการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมจังหวัดสุรินทร์

ประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนในโครงกา่รจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมจังหวัดสุรินทร์

รศ.สมัย ยอดอินทร์ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้กำหนดการนิเทศติดตามผลการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมแก่ผู้บริหารและคณะครูในระหว่างวันที่ 19-27 มกราคม 2555 รายละเอียดดังนี้
  • 19 ม.ค.2555  บ่าย  ร.ร.บ้านกระโดนค้อ
  • 20 ม.ค.2555  ร.ร.ทศพรวิทยา  อ.สตึก  บุรีรัมย์
  • 21 ม.ค.2555 10.30 น. พบผู้บริหารที่สนใจร้านกาแฟ ปตท.ศีขรภูมิ
    บ่าย ร.ร.ที่มีความพร้อมนำงานวิจัยในชั้นเรียนหรืองานที่ได้รับมอบหมายไปเสนอท่านอาจารย์ที่ศูนย์ Net
  • 22 ม.ค.2555  อาจารย์เดินทางไปเก็บข้อมูลวิจัยภาคสนามที่ปราสาทภูมิโปน
  • 23 ม.ค.2555 เช้า  ร.ร.บ้านฉลีก  บ่าย ร.ร.บ้านทุ่งรูง
  • 24 ม.ค.2555 เช้า  ร.ร.บ้านตรึมฯ   บ่าย   ร.ร.ห้วยจริงวิทยา รวมกับ
    ร.ร.บ้านช่างปี่  ร.รบ้านหัวแรตนาโพธิ์
  • 25 ม.ค.2555 เช้า  ร.ร.บ้านปลัด  บ่าย ร.ร.วันเจริญสามัคคี 
  • 26 ม.ค.2555 เช้า  ร.ร.บ้านกระดาน   เย็น 17.00 น. ร.ร.บ้านระไซร์
  • 27 ม.ค.2555 บ่าย 13.00 น. ประชุมครูทุก ร.ร.ในโครงการที่ห้องประชุมสวนป่ารีสอร์ท
    (รายละเอียดแจ้งเป็นหนังสือไปแล้ว) 
  • 28 ม.ค. 2555 อาจารย์เดินทางกลับเชียงใหม่
ขอความร่วมมือโรงเรียนได้โหลดไฟล์และจัดเตรียม PowerPoint ไฟล์เอกสารบูรณาการแบบองค์รวมตามลิงก์ด้านบน และนัดหมายคณะครูทุกท่านเข้าร่วมรับฟังช่วงเช้าเวลาประมาณ 11.00-12.00 น.และช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.00-15.00 น.
หมายเหตุ :  ตารางอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม  กรุณาตรวจสอบทุกวัน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

บทสรุปบูรณาการแบบองค์รวมไฟล์ที่ 1



บทสรุป และมอบหมายภารกิจก่อนปิดการประชุม เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 โดย รศ.สมัย ยอดอินทร์ ที่ปรึกษาการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในโครงการจัดกา­รเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น(หลักสู­ตรสถานศึกษาระดับท้องถิ่น) และการวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบอง­ค์รวม ระหว่างวันที่ 21-26 สิงหาคม 2554 ณ ห้องประชุมอุบลน้ำซับรีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี

บทสรุปบูรณาการแบบองค์รวมไฟล์ที่ 2


วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทำไมต้องหลักสูตรองค์รวม (3)

ทำไมต้องหลักสูตรองค์รวม (3) (รศ.สมัย  ยอดอินทร์)


ยึดหัวหาดของปัญหานี้ได้ที่ไหน
จากที่ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนต่างๆ พบว่า การจัดค่ายองค์รวมสามารถสร้างสิ่งต่อไปนี้ได้อย่างครบถ้วน คือ
1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์
3. บูรณาการแบบองค์รวม
4. นักเรียนเป็นสำคัญและเรียนรู้อย่างมีความสุข
5. สัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวิถีชุมชน
และพบว่า ค่ายองค์รวมเป็นหัวหาดของการยึดเพื่อไปแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างดี
ค่ายแบบองค์รวม มีขั้นตอนดังนี้คือ

ขั้นที่ 1 สำรวจพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติอย่างน้อย 5 แบบ เช่น
(1) ป่า ภูเขา หรือแม่น้ำ
(2) แหล่งทำการเกษตร หรืออุตสาหกรรม
(3) แหล่งเสื่อมโทรมหลังจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรม
(4) ศาสนสถานและศิลปวัฒนธรรม
(5) ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ขั้นที่ 2 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-10 คน ไปสำรวจแหล่งต่างๆ ดังกล่าว และให้แต่ละกลุ่มตั้งปัญหาด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในรูปที่นักเรียนยังได้คิดด้วยตนเอง

ขั้นที่ 3 นำปัญหาของแต่ละกลุ่มมาเสนอให้ส่วนรวมได้เห็นทั่วกัน แล้วให้นักเรียนแต่ละคนเลือกปัญหาที่ชอบ นำนักเรียนที่ชอบปัญหาเดียวกันมาตั้งเป็นกลุ่มใหม่ ถ้าคนชอบปัญหาเดียวกันมากเกิน 10 คน ก็แบ่งเป็นหลายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 7 คน โดยให้แต่ละกลุ่มทำปัญหาเดียวกัน แต่อาจจะทำวิธีที่แตกต่างกัน

ขั้นที่ 4 เมื่อแต่ละกลุ่มปัญหาที่อยากหาคำตอบแล้วก็ให้แต่ละกลุ่มตั้งสมมุติฐานเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งออกแบบการทดลอง หรือออกแบบการสำรวจเพิ่มเติมแล้วนำมาให้อาจารย์หรือวิทยากรพิจารณาตามความเหมาะสม และความเป็นไปได้เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์การทดลองตามที่กลุ่มต่างๆ ต้องการ

ขั้นที่ 5 ออกสำรวจซ้ำเพื่อเก็บข้อมูลตามที่ออกแบบการทดลอง ทดสอบสมมุติฐานตามปัญหาที่สนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นจากขั้นที่ 3 แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจากกลุ่มเดิม

ขั้นที่ 6 ทำการทดลอง หรือทำการวิเคราะห์จากข้อมูลที่เก็บมาจากขั้นที่ 5 เพื่อสรุปผลว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่วางไว้หรือไม่

ขั้นที่ 7 นำผลการทดลองหรือสรุปผลจากการทดลองมาเสนอ เพื่อให้ส่วนรวมได้ร่วมตัดสินว่าสนับสนุนสมมุติฐานหรือไม่ โดยผู้รู้และวิทยากรจะช่วยกันพิจารณาความสมเหตุสมผลของผลการทดลองหรือผลสรุปดังกล่าว


สำหรับปัญหาในขั้นที่ 3 ที่ยังไม่ได้เลือกทำ ครูและวิทยากร ก็แยกปัญหาออกเป็นส่วนว่าปัญหาใดควรตอบได้ ปัญหาใดควรนำไปทำโครงงาน และปัญหาใดควรนำไปทำวิจัยชั้นสูง

ขั้นที่ 8 ประเมินผลการจัดค่ายดังกล่าวนี้ทุกขั้นตอน

ขั้นที่ 9 รายงานผลการจัดค่ายในรายละเอียดตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเป็นรูปเล่ม
การจัดค่ายดังกล่าวนี้ จะได้ผลแก่ครูก็ต่อเมื่อให้ครูของโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงมาร่วมเข้าค่ายเดียวกัน โดยปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกับนักเรียนชาวค่าย แต่แยกกลุ่มจากนักเรียนและจัดเวลาการเสนอปัญหา สรุปผลแยกออกไปทำก่อนนักเรียน และเข้าฟังการนำเสนอของนักเรียนทุกครั้ง เพื่อครูจะได้เห็นผลของตนเทียบกับผลจากนักเรียน เท่าที่ทำมาหลายครั้งแล้ว สรุปได้ว่าผลงานของนักเรียนมีคุณภาพกว่าครู ทุกขั้นตอนทั้งระดับประถมและมัธยม
ปัญหาที่เกิดจากการสงสัยของนักเรียนหลังการสำรวจมีได้หลากหลายกว่าปัญหาของกลุ่มครูและมองปัญหากันคนละแบบ มีผลให้ครูรู้ว่าแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติที่ไปศึกษานั้น สิ่งที่เด็กอยากรู้กับสิ่งที่ครูอยากรู้นั้นไม่ตรงกัน ซึ่งมีผลสะท้อนให้ครูเห็นภาพการสอนของตน ว่าสิ่งที่ครูอยากสอนและสิ่งที่นักเรียนอยากรู้นั้นไม่ตรงกัน
การตั้งสมมุติฐานและการออกแบบการทดลอง ครูมักนึกเสมอว่าเด็กทำไม่ได้ แต่เมื่อให้มาเข้าค่ายพร้อมกัน ครูจึงพบว่าเด็กสามารถทำได้เกินคาด หรือสามารถทำในสิ่งที่ครูคาดไม่ถึงหลายอย่างซึ่งไม่มีในตำรา แต่ครูมักจะทำตามตำราเสียส่วนใหญ่ จึงทำให้เห็นว่า ตำราบังความรู้ของครูจนหมด ในขณะที่เด็กยังไม่ถูกบังโดยตำรา

ผลจากค่ายดังกล่าว ทำให้ครูทราบว่าการเรียนแบบ LEARNING BY DOING เป็นวิธีการที่ดี เด็กเข้าใจได้ครบ 5 อย่าง โดยไม่ต้องท่องจำ คือ

1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
2. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์
3. บูรณาการแบบองค์รวม
4. นักเรียนเป็นสำคัญและเรียนรู้อย่างมีความสุข
5. สัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวิถีชุมชน

จึงนำค่ายองค์รวมเป็นจุดนำการเปลี่ยนแปลงทัศนคติแก่ครูดังกล่าว และทำให้ครูสนใจที่จะนำวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ในการเรียนการสอนธรรมดามากขึ้น รวมทั้งครูจะนำวิธีการจัดค่ายแบบนี้ไปสู่การศึกษาวิถีชุมชนได้ดียิ่งขึ้นและสามารถทำได้ผลมาแล้วหลายโรงเรียนซึ่งอธิบายอย่างย่อ ๆ ดังนี้
ก) เปลี่ยนทัศนคติของครูโดยค่ายองค์รวม
จากประสบการณ์การจัดค่ายที่ทำมาแล้ว ปรากฏว่า ครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เห็นด้วยกับโครงการค่ายองค์รวม และเข้าใจความต้องการห้าข้อชัดขึ้น และยังเข้าใจเจตนารมณ์ของนักเรียนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งการบูรณาการแบบองค์รวม ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 ได้ดียิ่งขึ้น และครูส่วนใหญ่เพิ่งทราบจากค่ายดังกล่าวว่า สิ่งที่เด็กอยากรู้ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ครูอยากสอน และสิ่งที่เด็กอยากรู้ก็ยังเป็นมุมมองสอดคล้องกับสาระหลักของหลักสูตร ครูเริ่มเห็นประโยชน์ของการเรียนจากธรรมชาติรอบๆ ตัว และพบว่าการเรียนรู้จากปัญหาที่เด็กตั้งขึ้นจะดีกว่าครูเป็นผู้ตั้งปัญหา

ข) นำปัญหาที่นักเรียนตั้งจากค่ายไปสู่ห้องเรียน และหลักสูตรปกติรวมทั้งโครงงานมีผลทำให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้มากกว่าเดิม เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะความอยากรู้ของเด็ก

ค) จากค่ายองค์รวมไปสู่ค่ายวิถีชุมชน เพื่อให้การเรียนการสอนสัมพันธ์กับวิถีชุมชนและให้เห็นว่าการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวิถีชุมชนที่ปฏิบัติกันมาหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ว่านหางไหลที่ใช้เพื่อการทำให้ปลาเมาคล้ายกับยาเบื่อจะได้จับปลาได้ง่าย เมื่อจับปลามาได้แล้วก็บีบมะนาวใส่น้ำที่ขังปลา ปลาก็จะหายเมา วิธีการดังกล่าวเป็นวิถีชุมชนที่นำมาอธิบายได้ถึงสภาพความเป็นด่างของว่านหางไหล ความเป็นกรดของมะนาว และการเกิดความเป็นกลางของปฏิกิริยาเคมีที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิถีชุมชนแบบนี้ยังมีอีกมากและเป็นเรื่องที่สามารถหยิบยกขึ้นมาเพื่อนำมาเข้าสู่บทเรียนทางวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจารย์จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมจากชุมชนรอบโรงเรียน แล้วนำมาศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นอุปกรณ์การสอน นักเรียนจะเห็นได้ว่า ความรู้จากโรงเรียนเมื่อกลับมาบ้านก็สามารถอธิบายได้โดยไม่แปลกแยกจากกัน การได้ความรู้จากวิถีชุมชนสามารถทำได้โดยการจัดค่ายวิถีชุมชน เอาครูอาจารย์จากหลายโรงเรียนมาร่วมกัน จัดเป็นค่ายปฏิบัติการเพื่อออกศึกษาวิถีชีวิตชุมชนรอๆ โรงเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายเป็นตัวอย่างในการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น ตะบันไฟ ว่านหางไหล ว่างหางดาบ ฯลฯ

ง) ขยายไปทุกหมวด ในวิถีชุมชนยังมีภูมิปัญญาที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ขยายวงไปถึงสาขาวิชาอื่นด้วย ทั้ง เกษตร การงานพื้นฐานอาชีพ สังคมศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภาษา สุขศึกษา พลานามัย คหกรรมศาสตร์ ศิลปศึกษา และอื่นๆ จึงจำเป็นต้องขยายแนวคิดไปทำงานร่วมกันทุกหมวด อย่างน้อยที่สุดก็สามารถนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปวิเคราะห์ปัญหาที่พบจากวิถีชุมชนได้ทั้ง 8 สาระ ครูทุกกลุ่มสาระจะได้ศึกษาปัญหาได้ทุกแง่ทุกมุม และสามารถชักจูงครูจากโรงเรียนอื่นมาร่วมกิจกรรมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย


จ) บูรณาการกับหลักสูตร การเรียนการสอนในทุกสาขาวิชา โดยนำผลที่ได้จาก ค) และ ง) มาบูรณาการ มีผลให้เกิดหลักสูตรที่สัมพันธ์กับวิถีชุมชน และบูรณาการแบบองค์รวมได้ ทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดอารยธรรมให้แก่เยาวชนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ฉ) เชื่อได้อย่างไรว่าหลักสูตรแบบองค์รวมช่วยแก้ปัญหาได้จริง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำวิธีการแบบองค์รวมไปเริ่มใช้กับโครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน(SIS) และได้ทำการประเมินผลของโครงการ โดยวิธี Clinical Test และการติดตามผลกระทบ

ผลประเมินโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ SIS ปี 2543-2545 ของภาคเหนือพบว่า

1. นักเรียนในโครงการ SIS โดยเฉพาะนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับปานกลาง (GPA: 2.50-3.00) มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการรับรู้ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ความรู้สึกนึกคิดทางวิทยาศาสตร์ และทักษะทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ดีกว่านักเรียนที่อยู่นอกโครงการ
2. ค่ายวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมมีประโยชน์จริงและสามารถนำรูปแบบของค่าย และผลจากค่ายแบบองค์รวมไปสู่ห้องเรียนได้ช่วยให้นักเรียนคิดปัญหาโครงงานได้และคิดได้มากขึ้นนอกจากนี้ค่ายแบบองค์รวมยังส่งเสริมให้เห็นการบูรณาการแบบองค์รวมและหลักสูตรแบบองค์รวม รวมทั้งครูได้สนใจนำวิธีการจัดค่ายแบบนี้ไปสู่การศึกษาวิถีชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
3. ค่ายวิถีชุมชนมีส่วนผลักดันให้โรงเรียนมีความสัมพันธ์ชุมชนได้จริงและนำไปสู่การจัดหลักสูตรให้สัมพันธ์กับท้องถิ่นได้จริง

ช) หลักสูตรแบบองค์รวมมีความสมบูรณ์ในตัวหรือไม่ ไม่มีอะไรในโลกที่จะสมบูรณ์ทุกอย่างองค์รวมก็ไม่มีข้อยกเว้น ในบางครั้งจำเป็นที่จะต้องนำวิธีการจัดความเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากค่ายองค์รวม(Strand Map) มาเติมเต็มเพื่อให้การบูรณาการแบบองค์รวมเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเช่นเดียวกันบางครั้งจำเป็นต้องนำวิธีการ ATLAS (active teaching and learning activities in sciences and technology) มาช่วยเติมเต็มความคิดรวบยอดบางอัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์

องค์รวม Strand Map และ ATLAS มิใช่ตัวหลักสูตร แต่เป็นสิ่งที่ทำให้หลักสูตรมีชีวิตและสอดคล้องกับความเป็นอยู่ตามสภาพจริง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน และทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดอารยธรรมของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ATLAS สอบถามได้ที่ สวทช. ส่วน Strand Map ซึ่งเป็นวิธีการจัดความเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ นั้น ติดต่อสอบถามได้ที่โครงการพิเศษคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมัย  ยอดอินทร์
มิถุนายน 2546